เขียนโดย: Surasak

เมื่อ: 20 ธันวาคม 2566 - 17:47

เบิ้ลรอบตัดคืออะไร เครื่องยนต์จะมีปัญหารึไม่

 

      การเบิ้ลรอบตัดบ่อยๆ เครื่องยนต์จะมีปัญหาไหม และการทำแบบนี้มีข้อเสียอะไรบ้าง ซึ่ง Boxzaracing จะมาพูดถึงประเด็นเรื่องราวนี้ ใครที่กำลังสงสัยหรืออยากได้ข้อมูลความรู้อยู่ รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

 

      หากเป็นรถมอเตอร์ไซค์สเปกเดิมโรงงาน ที่ไม่ได้มีการดัดแปลงแก้ไขเครื่องยนต์หรือกล่องควบคุม (ECU) เรียกว่าไม่มีอะไรให้กังวลใจอย่างแน่นอน แค่เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉยๆ เพียงเท่านั้น เนื่องจากเครื่องยนต์ถูกควบคุมด้วยกล่องควบคุม ซึ่งวิศวกรผู้ผลิตได้คำนวณออกแบบมาเป็นอย่างดี มีการล็อกรอบเครื่องยนต์ไว้ให้อยู่ในรอบเครื่องยนต์ที่ปลอดภัย ทำให้โอกาสที่เครื่องยนต์จะเสียหายจากการเบิ้ลรอบติดมีโอกาสน้อยมากๆ แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเช่นกัน

 

      ทั้งนี้เรื่องของน้ำมันเครื่องก็มีผลโดยตรงเช่นกัน หากคุณเป็นคนชอบเบิ้ลรอบตัดเป็นประจำ การเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูง ก็จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ลูกสูบติด ดังนั้นขอแนะนำให้เลือกใช้น้ำมันเครื่องเกรดสังเคราะห์ 100% ที่มีมาตรฐาน แบรนด์ที่ไว้ใจได้ ถือว่าเป็นอะไรที่จบกว่าแน่นอน

 

 

      มาถึงตรงจุดนี้ถ้าคุณมั่นใจแล้วว่าเครื่องยนต์ไม่มีการดัดแปลงแก้ไข และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ก็มั่นใจได้เลยว่าโอกาสที่เครื่องยนต์จะเสียหายนั้นมีน้อยมากๆ คุณสามารถบิดเล่นได้ตามใจเลย หากไม่เสียดายเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกเผาทิ้งไป รวมไปถึงอายุของน้ำมันเครื่องที่สั้นลง ต้องเปลี่ยนถ่ายบ่อยขึ้นเป็นต้น

 

      ทั้งนี้ถ้ามองความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาวก็มีเช่นกัน เนื่องจากการเบิ้ลจนรอบตัดจะใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูง และเมื่อรอบเครื่องยนต์สูง การสึกหล่อที่เกิดขึ้นก็สูงตามไปเช่นกัน สิ่งนี้คุณไม่สามารถหลีกเลียงได้เลย ทำให้คุณอาจต้องโอเวอร์ฮอลเครื่องยนต์เร็วกว่าที่ควรจะเป็น

 

อ่านข้อมูลอื่นเพิ่มเติม

 

      อย่างไรก็ตามหากคุณมีการดัดแปลงเครื่องยนต์ เปลี่ยนกล่องควบคุมใหม่แล้ว การเบิ้ลเครื่องในช่วงเวลาสั้นๆ ก็น่าจะไม่สร้างปัญหาหรือความเสียหายเช่นกัน แต่ถ้าเป็นการเบิ้ลเครื่องแช่ทิ้งไว้แล้วล่ะก็ เรียกว่าตัวใครตัวมันแล้วกันตรงจุดนี้ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลของการเบิ้ลรอบตัด

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook