เขียนโดย: Piapiano

เมื่อ: 14 ธันวาคม 2562 - 09:24

Honda เผยเทคโนโลยีหลักอากาศพลศาสตร์รูปแบบใหม่ พร้อมจดสิทธิบัตรกับ New Active Aero

 

          เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทาง Honda ได้ทำการเปิดตัว Honda CBR1000RR-R ซึ่งจะเป็นโมเดลรถแข่งล่าสุด ในรายการ WSBK ฤดูกาล 2020 และทาง WSBK ได้มีการประกาศการใช้กฎระเบียบใหม่ในเรื่องของหลักอากาศพลศาสตร์ และ Honda ได้มีการจัดการทางออกสำหรับปัญหาจากกฎระเบียบใหม่นี้แล้ว โดยการพัฒนาระบบชิ้นส่วนในด้านหลักอากาศพลศาสตร์ จากการเปิดเผยข้อมูลใหม่ล่าสุด ที่ทาง Honda ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรเป็นของตัวเอง โดยตั้งชื่อเจ้าระบบนี้ว่า New Active-Aero ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลในครั้งนี้ ได้รับการอ้างอิงจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญาในยุโรปและระบบ New Active-Aero คือ ระบบที่จะเข้ามาเสริมประสิทธิภาพในด้านของอากาศพลศาสตร์ในรูปแบบที่ไม่ตายตัวหรือสามารถเปิดปิดการทำงานโดยอาศัยการคำนวณผลจากแกน IMU และการสั่งการเองจากผู้ขี่ ที่จะมีถึง 3 ชิ้นส่วน ที่ได้รับการติดตั้งแบบกระจายกันอยู่ในส่วนต่างๆ ของตัวรถเพื่อทำหน้าที่ควบคุมทิศทางแรงลมต่างๆ เพื่อให้หลักอากาศพลศาสตร์ของตัวรถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นอย่างไรนั้นตามไปชมด้วยกันเลยครับ

 

 

          เริ่มที่ชิ้นส่วนแรก เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ด้านหลักอากาศพลศาสตร์ของรถมอเตอร์ไซด์ที่แปลกตาที่สุดโดยส่วนนี้จะถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านปลายของไฟหน้าหรือที่เราเรียกกันว่า "จมูก" และการทำงานของระบบส่วนนี้ ถ้าระบบยังปิดการทำงาน ส่วนของจมูกก็อยู่ในตำแหน่งปกติทั่วไปเหมือนรถรุ่นอื่นๆ แต่ถ้าระบบเริ่มทำงานเมื่อเจอการตรวจพบว่ามีลมปะทะที่ด้านหน้ามากเกินไปหรือตรวจเจอการลดความเร็วลงอย่างกระทันหัน "จมูก" จะพับตัวลงเพื่อให้เกิดการต้านของอากาศโดยการเปลี่ยนแปลงทิศทางลมที่ปะทะเข้าด้านหน้าของตัวรถ ซึ่งระบบในส่วนจมูกนี้ จะใกล้เคียงกันกับระบบ Air Brake ที่ติดตั้งในเครื่องบิน เพื่อช่วยลดระยะเบรกและชะลอความเร็วของตัวรถได้ดียิ่งขึ้น และการทำงานในส่วน จมูกนี้ จะมีการทำงานร่วมกับแกน IMU และ Gyro หรือสามารถปรับตั้งค่าให้เปิด-ปิดการทำงานด้วยตัวเองก็สามารถทำได้

 

 

          มาต่อกันที่ชิ้นส่วนที่ 2 กับการติดตั้งที่ส่วนแฟริ่งด้านล่าง ที่จะทำหน้าที่หลักโดยการประมวลผลผ่านแกน IMU เมื่อระบบตรวจพบว่าตัวรถตั้งตรงและมีการใช้ความเร็วสูง ตัวปีกจะกางออกเพื่อสร้าง Down Force โดยให้ตัวรถมีการยึดติดกับพื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อระบบตรวจพบว่าตัวรถมีการลดความเร็วลงหรือเอียงตัว ปีกจะมีการพับเก็บพร้อมกับให้อุปกรณ์หนึ่งใน 3 ชิ้นเข้ามาทำหน้าที่ในการใช้ชะลอความเร็วแทน

 

 

          มาถึงชิ้นส่วนสุดท้ายที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านล่างของแฟริ่งทั้งสองข้าง ที่มีรูปทรงคล้าย Winglet โดยจะทำหน้าที่ช่วยแหวกอากาศด้านล่าง ที่เมื่อมีลมย้อนสวนเข้ามาให้กระจายกันออกไปด้านข้างเพื่อให้การไหลผ่านของอากาศในมุมอับของตัวรถอย่างเช่นบริเวณแฟริ่งด้านล่างนั่นเองครับ และการควบคุมการทำงานของชิ้นส่วนนี้สามารถสั่งการเปิด-ปิดการทำงานได้ตามความเหมาะสมจากผู้ใช้งาน โดยไม่ต้องประมวลผลการทำงานผ่านแกน IMU 

 

 

          จากกฎระเบียบใหม่ของการแข่งขัน WSBK ที่มีข้อกำหนดออกมาว่า "ถ้ารถตลาดทำออกมาขายอย่างไร ก็ต้องเป็นสภาพแบบนั้นเอามาลงแข่ง" ซึ่งระบบ New Active-Aero ก็เรียกได้ว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาของ Honda ในกฎระเบียบใหม่ของทาง WSBK ซึ่งเป็นไปได้ว่าในฤดูกาล 2020 ของการแข่งขัน WSBK ในโมเดลตัวแข่งล่าสุดอย่าง Honda CBR1000RR-R เราอาจจะได้เห็นการติดตั้งและทดสอบระบบ New Active-Aero กันหรือไม่ก็ต้องรอการอัพเดทจากทาง Honda อีกครั้ง...ต้องมาลุ้นกันครับ 

รถซื้อสอง ซื้อขายรถ ของแต่งรถ

ข่าวที่ใกล้เคียง

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook